วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การติดตั้งจานดำ C BAND

การติดจานดำต้องหาทิศก่อน โดยจะยกตัวอย่างติดดาว Thaicom C band
ดาวเทียม THAICOM อยู่ทางทิศ ตะวันตกเฉียงใต้ หรือที่ 240 องศา
ถ้าไม่มีเข็มทิศ อย่างง่ายคือดูจานเพื่อนบ้านว่าส่วนใหญ่หันหน้าจานไปทางไหน นั้นแหละเเลือกตำแหน่งติดตั้งได้เลย
แล้วดูว่าอย่าให้มีอะไรมาบดบังท้องฟ้า



 
จัดการตั้งเสา โดยเสาต้องอยู่ในแนวดิ่ง 90 องศาหรือเรียกง่ายๆคือต้องตั้งเสาให้ได้ฉากครับ
ไม่ว่าจะเสาแบบตรงหรือแบบตัว L วัดให้ละเอียด นี่เป็นจุดตายที่ทำให้หาสัญญาณได้ง่ายครับ



 
ต่อไปประกอบหน้าจานตามคู่มือ

 



เมื่อได้หน้าจานแล้วมาดูการใส่ LNB กัน ให้หันหน้าเข้าหาจานโดยให้เลข 0 อยู่ที่ 7 นาฬิกาโดยประมาณ โดยคิดว่าหน้าจานคือนาฬิกา ด้านบนคือ 12 ล่างคือ 6 (การตั้ง LNB แต่ละยี่ห้ออาจแตกต่างกัน กรุณาดูตามคู่มือของท่าน หรือที่เมนูซ้ายมือของเว็บเรา)

 
ขันสกรูจับLNB ที่ความลึกประมาณเลข 38 สังเกตุให้ปลายสกรูอยู่แนวเดียวกับตัวเลข
หรือปากกระอกโผล่จากสกาล่าริง ประมาณ 2 ซม.



 
นำจานประกอบกับเสาได้เลย โดยปรับมุมก้มอยู่ที่ 30 องศาดูตามแองเกิ้ลพอดี (กรุงเทพฯ)



 
ได้ตามนี้เจอสัญญาณแน่นอน แล้วหันไปทิศ 240 องศาที่เล็งไว้(แต่ละพื้นที่แต่ละจังหวัดมุมจะไม่เท่ากันนะครับ)



การปรับแต่งให้ได้สัญญาณที่ดีที่สุด
1. เปิดทีวี เริ่มที่ช่อง 3 แล้วกดปุ่ม info เพื่อดูสัญญาณความแรงและคุณภาพ
2. ส่ายจาน ซ้าย - ขวาอย่างช้าๆ ดูหน้าจอทีวี ดูที่ตรงตำแหน่งสัญญาณคุณภาพว่าเราส่ายจานไปตำแหน่งไหนแล้วได้สัญญาณมากที่สุด เจอสูงสุดแล้วขันล็อกน็อตเลย (ได้ตำแหน่งมุมส่าย)
3ปรับหน้าจานขึ้นลงอย่างช้าๆ ดูที่ตรงตำแหน่งสัญญาณคุณภาพว่าเราส่ายจานไปตำแหน่งไหนแล้วได้สัญญาณมากที่สุด เจอแล้วขันล็อกน็อตเลย(ได้ตำแหน่งมุมก้มเงย)

ช่อง 3

 
ปรับแต่งช่อง 9


จุดปรับที่สามารถปรับได้แบบละเอียดอีกครั้งเพื่อเพิ่มความแรงของสัญญาณ
1. ที่มุมก้มเงย
2. ที่ทิศ  ส่ายหน้าจานเพื่อหาจุดที่รับสัญญาณได้สูงที่สุด
3. ปรับหมุนที่ตัว LNB เพื่อปรับให้การรับสัญญาณตรงแนวการส่งให้มากที่สุด
    โดยการปรับหมุนซ้ายหรือหมุนขวาแล้วสังเกตุที่ความแรงสัญญาณ
4. ปรับเลื่อนตัว LNB ขึ้นหรือลงเพื่อปรับหาระยะโฟกัสให้รับสัญญาณได้ดีที่สุด

คำเตือน  เมื่อเอามือไปปรับที่ LNB  สัญญาณที่อ่านได้จากหน้าเครื่องจะลดลง
              และเมื่อเอามือออกแล้วสัญญาณจะสูงขึ้นเหมือนเดิม

วิธีการอัพเกรดซอฟท์แวร์ใหม่ด้วยตนเอง กล่องทรูดิจิตอล เอชดี (รุ่น HD-SK 1000S)



ขั้นตอนการอัพเกรดซอฟท์แวร์ใหม่ด้วยตนเอง

วิธีการติดตั้งจานดาวเทียม IPM

1.ตรวจสอบพื้นที่ก่อนการติดตั้ง
  • สำรวจพื้นที่
    พื้นที่ที่เหมาะสมในการติดตั้งหน้าจานดาวเทียมจะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางตามทิศทางของหน้าจาน โดยหน้าจานส้มจะหันไปยังทิศใต้ (มุม 200 องศาเหนือ ทิศเหนือเป็นเลข 0) คือทิศของดาวเทียม NSS ที่ตั้งรับในประเทศไทย หลังจากได้พื้นที่แล้วให้ตรวจสอบความแข็งแรงของโครงสร้างจุดติดตั้งบนพื้นหรือผนัง โดยปกติหน้าจานจะมีน้ำหนักเบา จึงสามารถติดตั้งได้ทั้งบนคอนกรีต แผ่นไม้หน้า หรือบนหลังคา แต่ต้องพิจารณาถึงความแข็งแรงของโครงสร้าง ตำแหน่งที่ติดตั้งว่ามีความแข็งแรงเพียงพอในการรับน้ำหนักของหน้าจาน และสามารถทนทานต่อแรงดึงของแรงลมปะทะกับหน้าจานได้เลย

  • ระยะสายสัญญาณ
    ตรวจสอบระยะสายสัญญาณ (RG6) จากหน้าจานถึงเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมว่าประมาณกี่เมตร โดยทั่วไประยะสายสัญญาณที่ได้สัญญาณคุณภาพสูง ไม่ควรเกิน 30 เมตร หากเกินระยะดังกล่าวอาจเกิดการลดทอนของสัญญาณลงจนไม่สามารถรับสัญญาณได้
  • ติดตั้งเสาจานรับสัญญาณ
    นำเสาจานรับสัญญาณมาทาบกับพื้นหรือผนัง ณ จุดที่ต้องการติดตั้ง ใช้ปากกาแต้มรูปยึดพุกเหล็ก ทั้ง 4 จุด นำเสาออกและใช้สว่าน (ดอกสว่านเบอร์ 8) ทำการเจาะรู จากนั้นฝังพุกเหล็กทั้ง 4 รูให้แน่น ติดตั้งเสาจานรับสัญญาณให้ได้ระดับมุมฉาก 90 องศาพอดี เพื่อให้ได้รับสัญญาณได้สูงสุด ยึดพุกให้แน่น
2.ประกอบหน้าจานและติดตั้งเสาจาน
  • อุปกรณ์ที่ใช้ (ประแจเบอร์ 10, ไขควงสี่แฉก)
ประกอบประกับยึด LNB แขรจับ LNB, หัวรับสัญญาณ LNB เข้าด้วยกัน
โดยหมุนหัวรับสัญญาณ LNB, ให้ขั้วหันไปทางมุม ประมาณ 5 นาฬิกา (มองจากท้าย LNB)
ประกอบแขนจับ LNB เข้ากับชุดจาน โดยให้ลูกศรบนชุดคอจานหันขึ้นด้านบน 
 
ประกอบชุดคอจานเข้ากับใบจาน โดยให้ลูกศรครบบนชุดคอจานหันขึ้นด้านบน
 
ประกอบจานเข้ากับเสาจาน ปรับมุมเงยขแงหน้าจาน โดยถ้าหันหน้าเข้าหลังจานให้ตั้งมุมที่คอจาน
ที่มุมประมาณ 72 องศา หันหน้าจานไปทางทิศใต้ (มุม 200 องศาเหนือ) ยึดน็อตทั้งสองข้างเข้า
กับเสาให้แน่นแต่พอขยับหน้าจานได้บ้าง เพื่อปรับละเอียดภายหลัง
  
3. การเชื่อมต่อสายสัญญาณ
  • อุปกรณ์ที่ใช้ (สายสัญญาณ (RG6) ตามระยะที่ใช้งาน, หัว F-Type แบบเกลียว 2 ชิ้น, คัตเตอร์)
  • วิธีการเข้าหัว F-Type
ปอกสายสัญญาณทั้งสองด้านด้วย
คัตเตอร์โดยกรีดฉนวนหุ้มชั้นนอก
ออกเป็นระยะ 1/21/21/21/2 นิ้ว จากปลายสาย
รููดฉนวนเส้นสวดฝอยมาด้านหลัง ระวัง
อย่าให้ฉนวนฝอยเหลือพื้นที่แกนทองแดง
กรีดฉนวนโฟมช้นในออกเป็นระยะ 1/4 นิ้ว ระวังอย่าให้คัตเตอร์กรีดลึกจน
โดนเนื้อทองแดง
หมุน F- Type เข้ากับสานสัญญาณ โดย
ให้ทองแดงโผล่พ้นขอบ F-Type ประมาณ 3 มม.
ต่อสายสัญญาณ
  1. ต่อสายสัญญาณที่เข้าหัว F-Type ทั้งสองด้านโดยการหมุนที่ปลายหัว F-Type  เข้ากับ LNB และเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมที่ขั้ว LNB IN
  2. ต่อสาย AV ระหว่างเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม และทีวีตาสี (เหลือง ขาว แดง) หรือสาย HDMI

4. การตั้งค่าเครื่องรับสัญญาณเมื่อติดจานส้ม
เปิดเครื่องรับสัญญาณ ต่อสายสัญญาณเข้ากับเครื่องรับสัญญาณ กดปุ่มสีเหลืองเพื่อเช็คระดับสัญญาณแถบสีฟ้า (level) หากไม่มีสัญญาณกรูณาตรวจสอบการเชื่อมต่อสายสัญญาณอีกครั้ง
  
-หันหน้าจานไปทางทิศใต้ เมื่อหาทิศใต้เจอแล้ว เอียงไปทางขวามือเล็กน้อย โดยถ้ากำหนดทิศใต้เป็น 180 องศาดาวเทียม NSS6 จะอยู้ที่ประมาณ 20 องศา
-เลือกช่อง ASTV NEWS1 สำหรับทำการส่ายหน้าจานเพื่อหาสัญญาณดาวเทียม ปรับหน้าจานละเอียด โดยขยับจานไปทางซ้ายหรือทางขวาทีละเล็กน้อย แล้วสังเกตระดับคุณภาพสีเหลืองจะปรากฏขึ้น ยับหน้าจานให้ระดับคุณภาพสูงสุดแล้วล็อคชุดคอจานกับเสาจานให้แน่น
ปรับระดับมุมก้ม เงย ของจานโดยการขยับองศาจาก 72 ขึ้นลงเล็กน้อย สังเกตแถบระดับคุณภาพให้ได้เส้นคุณภาพมากที่สุด แล้วทำการล็อกน็อตให้แน่นการล็อกมุมกับ เงยให้แน่น
เลือกมาที่ช่อง TV Shop (ความถี่ 1131V30000) แล้วกดปุ่มสีเหลืองแล้วทำการบิดตำแหน่งหัว LNB ไปทางซ้ายหรือขวา ให้ช่อง TV Shop ได้ระดับคุณภาพมากที่สุด ช่วงที่ดีที่สุดจะอยู่บริเวณ 4-5 นาฬิกา จากนั้นเช็คที่ช่อง IPM-A Film (ความถี่ 117230000) แล้วทำการล็อค LNB ให้แน่นเป็นการเสร็จสิน

วิธีการติดตั้งฟรีวิวเอชดี

วิธีการติดตั้งฟรีวิวเอชดี
การติดตั้งจาน Freeview HD 1 จุด ด้วย  LNB K04 เพื่อรับสัญญาณดาวเทียม INTELSAT โดยตรง
  • ทำการติดตั้งหัว LNBF K04 เข้ากับจานฟรีวิว เอชดี ขนาด 60 ซม.
  • หันหัว Connecter ชี้ไปที่ 04.00 น. หรือ 16.00 น.
  • ปรับตำแหน่ง มุมเงย ประมาณ 56 องศา (องศาเปลี่ยนไปตามพื้นที่ของสัญญาณ)
  • ปรับตำแหน่ง มุมส่าย ประมาณ 220 องศา (องศาเปลี่ยนไปตามพื้นที่ของสัญญาณ)
  • ทำการต่อสายสัญญาณจากหัว LNB K04 ตรงมายัง กล่องรับสัญญาณ Freeview HD จากนั้นต่อเข้า TV ด้วยสาย HDMI
  • เช็คคุณภาพของสัญญาณภาพ โดยระดับคุณภาพของสัญญาณที่ดี สำหรับจาน 60 ซม. ไม่ควรต่ำกว่า 68 – 70%
  • รับชมช่องรายการผ่านดาวเทียม INTELSAT ได้ทันที
การติดตั้ง Freeview HD 1 จุด ด้วย LNB DUO K204 (Thaicom KU + Intelsat Horizons 2) จานเดิม Thaicom KU
  • ถอดหัวรับสัญญาณจากจานเดิมขนาด 75 ซม. ที่รับ THAICOM KU ออก
  • ทำการติดตั้งหัว LNB DUO K204 โดยหันหัว Connecter ชี้ไปที่ 04.00 น หรือ 16.00 น. แล้วดึงหัวของ Thaicom กับ Intelsat ให้ระยะห่างกัน  3 เซนติเมตร (หัวของ Thaicom อยู่ด้านบนและหัวของ Infosat อยู่ด้านล่าง )
  • ทำการต่อสายสัญญาณจาก LNB DUO K204 ทั้ง 2 ไปยัง กล่องรับสัญญาณ โดยผ่าน Disecq Switch (ตัวรวมสัญญาณ) ให้ lntelsat  Horizons2 เป็น port A และ Thaicom เป็น port B จะสามารถรับชมช่องได้ทั้ง 2 ดาวเทียม
  • ทำการต่อสายสัญญาณจาก Disecq Switch ตรงมายัง กล่องรับสัญญาณ Freeview HD จากนั้นต่อเข้า TV ด้วยสาย HDMI เพื่อคุณภาพของสัญญาณที่ดียิ่งขึ้น
  • เช็คคุณภาพของสัญญาณภาพ โดยระดับคุณภาพของสัญญาณที่ดี กรณีจาน 75 ซม. ไม่ควรต่ำกว่า 70-76 %
  • รับชมช่องรายการผ่านดาวเทียม INTELSAT และ Thaicom KU พร้อมกันได้ทันที
self-installment
การติดตั้งจาน Freeview HD 1 จุด ด้วย LNB DUO K204 (Thaicom KU + Intelsat Horizons 2)
  • ทำการติดตั้งหัว LNB DUO K204 ให้หัวรับ Intelsat อยู่ตรงกลาง และหัว Thaicom KU อยู่ด้านนอก โดยหันหัว Connecter ชี้ไป ที่ 04.00 น หรือ 16.00 น.
  • ปรับตำแหน่ง มุมเงย ประมาณ 56องศา (องศาเปลี่ยนไปตามพื้นที่ของสัญญาณ)
  • ปรับตำแหน่ง มุมส่าย ประมาณ 220 องศา (องศาเปลี่ยนไปตามพื้นที่ของสัญญาณ)
  • ทำการต่อสายสัญญาณจาก LNBF DUO K204 ทั้ง 2 ไปยัง กล่องรับสัญญาณ โดยผ่าน Disecq Switch (ตัวรวมสัญญาณ) ให้ lntelsat Horizons2 เป็น port A และ Thaicom เป็น port B จะสามารถรับชมได้ทั้ง 2 ดาวเทียม
  • ทำการต่อสายสัญญาณจาก Disecq Switch ตรงมายัง กล่องรับสัญญาณ  Free view HD จากนั้นต่อเข้า TV
  • เช็คคุณภาพของสัญญาณภาพ โดยระดับคุณภาพของสัญญาณที่ดี สำหรับจาน 60 ซม. ไม่ควรต่ำกว่า 68 – 70%
  • รับชมช่องรายการผ่านดาวเทียม INTELSAT และ Thaicom KU พร้อมกันได้ทันที
การติดตั้ง Freeview HD ไม่เกิน 4 จุด ด้วย  LNB K044 (ถ้าต้องการเพียง 2 จุดใช้ LNB K042)
  • ทำการติดตั้งหัว LNB K044 หรือ K042 โดยหันหัว Connecter ชี้ไปที่ 4.00 หรือ 16.00 น
  • ปรับตำแหน่ง มุมเงย ประมาณ 56องศา (องศาเปลี่ยนไปตามพื้นที่ของสัญญาณ)
  • ปรับตำแหน่ง มุมส่าย ประมาณ 220องศา (องศาเปลี่ยนไปตามพื้นที่ของสัญญาณ)
  • ทำการต่อสายสัญญาณจากหัว LNBF K044 หรือ K042 ตรงมายัง กล่องรับสัญญาณ Free view HD โดยใช้กล่อง 2-4 กล่อง
  • จากนั้นต่อเข้า TV ด้วยสาย HDMI กับทุกจุด                                        
  • รับชมช่องรายการผ่านดาวเทียม INTELSAT ได้ทันที
การติดตั้ง Freeview HD หลายจุดรับชม ร่วมกับจานดาวเทียม Thaicom KU เดิม
  • ทำการติดตั้งหัว LNBF K04 กับจาน ฟรีวิว เอชดี  
  • ทำการติดตั้งหัว THAICOM K032 ของจานดาวเทียม Thaicom KU เดิม
  • ทำการต่อสายสัญญาณจาก LNB K04 และ THAICOM LNB K032  ไปยัง กล่องรับสัญญาณ โดยผ่าน Multiswitch ให้สายต่อ1 ขั้วสำหรับรับสัญญาณ Intelsat และต่อ 2 ขั้วสำหรับรับสัญญาณ Thaicom KU  
  • ทำการต่อสายสัญญาณจาก Multiswitch ตรงมายัง กล่องรับสัญญาณ Freeview HD  
  • จากนั้นต่อเข้า TV ด้วยสาย HDMI เพื่อคุณภาพของสัญญาณที่ชัดยิ่งขึ้น
  • รับชมช่องรายการผ่านดาวเทียม INTELSAT และ Thaicom KU พร้อมกันได้ทันที
*** เหมาะสำหรับ อาคารพาณิชย์ คอนโด ห้องพัก และอื่นๆ ***

อุปกรณ์ในการติดตั้ง

self-installment2
การติดตั้ง LNB โดยหันขั้ว Connecter ไปที่ 4.00 น. หรือ 16.00 น.

self-installment3
การปรับหาช่องสัญญาณ
self-installment4

หรือเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมในการติดตั้งได้ ที่นี่

Untitled-6
ข้อมูลจาก Freeview HD