- สำรวจพื้นที่
พื้นที่ที่เหมาะสมในการติดตั้งหน้าจานดาวเทียมจะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางตามทิศทางของหน้าจาน โดยหน้าจานส้มจะหันไปยังทิศใต้ (มุม 200 องศาเหนือ ทิศเหนือเป็นเลข 0) คือทิศของดาวเทียม NSS ที่ตั้งรับในประเทศไทย หลังจากได้พื้นที่แล้วให้ตรวจสอบความแข็งแรงของโครงสร้างจุดติดตั้งบนพื้นหรือผนัง โดยปกติหน้าจานจะมีน้ำหนักเบา จึงสามารถติดตั้งได้ทั้งบนคอนกรีต แผ่นไม้หน้า หรือบนหลังคา แต่ต้องพิจารณาถึงความแข็งแรงของโครงสร้าง ตำแหน่งที่ติดตั้งว่ามีความแข็งแรงเพียงพอในการรับน้ำหนักของหน้าจาน และสามารถทนทานต่อแรงดึงของแรงลมปะทะกับหน้าจานได้เลย
- ระยะสายสัญญาณ
ตรวจสอบระยะสายสัญญาณ (RG6) จากหน้าจานถึงเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมว่าประมาณกี่เมตร โดยทั่วไประยะสายสัญญาณที่ได้สัญญาณคุณภาพสูง ไม่ควรเกิน 30 เมตร หากเกินระยะดังกล่าวอาจเกิดการลดทอนของสัญญาณลงจนไม่สามารถรับสัญญาณได้ - ติดตั้งเสาจานรับสัญญาณ
นำเสาจานรับสัญญาณมาทาบกับพื้นหรือผนัง ณ จุดที่ต้องการติดตั้ง ใช้ปากกาแต้มรูปยึดพุกเหล็ก ทั้ง 4 จุด นำเสาออกและใช้สว่าน (ดอกสว่านเบอร์ 8) ทำการเจาะรู จากนั้นฝังพุกเหล็กทั้ง 4 รูให้แน่น ติดตั้งเสาจานรับสัญญาณให้ได้ระดับมุมฉาก 90 องศาพอดี เพื่อให้ได้รับสัญญาณได้สูงสุด ยึดพุกให้แน่น
- อุปกรณ์ที่ใช้ (ประแจเบอร์ 10, ไขควงสี่แฉก)
ประกอบประกับยึด LNB แขรจับ LNB, หัวรับสัญญาณ LNB เข้าด้วยกัน โดยหมุนหัวรับสัญญาณ LNB, ให้ขั้วหันไปทางมุม ประมาณ 5 นาฬิกา (มองจากท้าย LNB) | |
ประกอบแขนจับ LNB เข้ากับชุดจาน โดยให้ลูกศรบนชุดคอจานหันขึ้นด้านบน | |
ประกอบชุดคอจานเข้ากับใบจาน โดยให้ลูกศรครบบนชุดคอจานหันขึ้นด้านบน | |
| |
ประกอบจานเข้ากับเสาจาน ปรับมุมเงยขแงหน้าจาน โดยถ้าหันหน้าเข้าหลังจานให้ตั้งมุมที่คอจาน ที่มุมประมาณ 72 องศา หันหน้าจานไปทางทิศใต้ (มุม 200 องศาเหนือ) ยึดน็อตทั้งสองข้างเข้า กับเสาให้แน่นแต่พอขยับหน้าจานได้บ้าง เพื่อปรับละเอียดภายหลัง | |
- อุปกรณ์ที่ใช้ (สายสัญญาณ (RG6) ตามระยะที่ใช้งาน, หัว F-Type แบบเกลียว 2 ชิ้น, คัตเตอร์)
- วิธีการเข้าหัว F-Type
ปอกสายสัญญาณทั้งสองด้านด้วย คัตเตอร์โดยกรีดฉนวนหุ้มชั้นนอก ออกเป็นระยะ 1/21/21/21/2 นิ้ว จากปลายสาย | รููดฉนวนเส้นสวดฝอยมาด้านหลัง ระวัง อย่าให้ฉนวนฝอยเหลือพื้นที่แกนทองแดง |
กรีดฉนวนโฟมช้นในออกเป็นระยะ 1/4 นิ้ว ระวังอย่าให้คัตเตอร์กรีดลึกจน โดนเนื้อทองแดง | หมุน F- Type เข้ากับสานสัญญาณ โดย ให้ทองแดงโผล่พ้นขอบ F-Type ประมาณ 3 มม. |
- ต่อสายสัญญาณที่เข้าหัว F-Type ทั้งสองด้านโดยการหมุนที่ปลายหัว F-Type เข้ากับ LNB และเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมที่ขั้ว LNB IN
- ต่อสาย AV ระหว่างเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม และทีวีตาสี (เหลือง ขาว แดง) หรือสาย HDMI
4. การตั้งค่าเครื่องรับสัญญาณเมื่อติดจานส้ม
เปิดเครื่องรับสัญญาณ ต่อสายสัญญาณเข้ากับเครื่องรับสัญญาณ กดปุ่มสีเหลืองเพื่อเช็คระดับสัญญาณแถบสีฟ้า (level) หากไม่มีสัญญาณกรูณาตรวจสอบการเชื่อมต่อสายสัญญาณอีกครั้ง
|
-หันหน้าจานไปทางทิศใต้ เมื่อหาทิศใต้เจอแล้ว เอียงไปทางขวามือเล็กน้อย โดยถ้ากำหนดทิศใต้เป็น 180 องศาดาวเทียม NSS6 จะอยู้ที่ประมาณ 20 องศา
-เลือกช่อง ASTV NEWS1 สำหรับทำการส่ายหน้าจานเพื่อหาสัญญาณดาวเทียม ปรับหน้าจานละเอียด โดยขยับจานไปทางซ้ายหรือทางขวาทีละเล็กน้อย แล้วสังเกตระดับคุณภาพสีเหลืองจะปรากฏขึ้น ยับหน้าจานให้ระดับคุณภาพสูงสุดแล้วล็อคชุดคอจานกับเสาจานให้แน่น
-เลือกช่อง ASTV NEWS1 สำหรับทำการส่ายหน้าจานเพื่อหาสัญญาณดาวเทียม ปรับหน้าจานละเอียด โดยขยับจานไปทางซ้ายหรือทางขวาทีละเล็กน้อย แล้วสังเกตระดับคุณภาพสีเหลืองจะปรากฏขึ้น ยับหน้าจานให้ระดับคุณภาพสูงสุดแล้วล็อคชุดคอจานกับเสาจานให้แน่น
ปรับระดับมุมก้ม เงย ของจานโดยการขยับองศาจาก 72 ขึ้นลงเล็กน้อย สังเกตแถบระดับคุณภาพให้ได้เส้นคุณภาพมากที่สุด แล้วทำการล็อกน็อตให้แน่นการล็อกมุมกับ เงยให้แน่น
เลือกมาที่ช่อง TV Shop (ความถี่ 1131V30000) แล้วกดปุ่มสีเหลืองแล้วทำการบิดตำแหน่งหัว LNB ไปทางซ้ายหรือขวา ให้ช่อง TV Shop ได้ระดับคุณภาพมากที่สุด ช่วงที่ดีที่สุดจะอยู่บริเวณ 4-5 นาฬิกา จากนั้นเช็คที่ช่อง IPM-A Film (ความถี่ 117230000) แล้วทำการล็อค LNB ให้แน่นเป็นการเสร็จสิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น